วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ไม่ประสบความสำเร็จ และ ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

1. สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจ Ecommerce ในประเทศไทย ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร คือ
                การทำอีคอมเมิร์ชนั้น ไม่ใช่แค่เพียงการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา แล้วให้ใครต่อใครก็ได้เข้ามาดูกันเท่านั้น เพราะที่จริงแล้ว เว็บไซต์ก็เหมือน "ภาพพจน์" หนึ่งของบริษัท หรือ ร้านของเรานั้นเอง หากท่านอยากทำเว็บไซต์ให้ประสบความสำเร็จ ควรคำนึงถึงอุปสรรคเหล่านี้ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะชี้วัดความสำเร็จของเว็บไซต์เหล่านั้น และจะทำธุรกิจประเภทนี้ไปได้ไกลแค่ไหน                               

               1. การนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ หลายเว็บไซต์ยังขาดทักษะเรื่องของภาษา การเสนอขายสินค้าบางครั้งใส่ข้อมูลสินค้าไม่ละเอียดพอทำให้ลูกค้าไม่เข้าใจในตัวสินค้า เช่น ใส่เพียงขนาดกับราคา  เท่านั้น ขาดรายละเอียดทั้งในเรื่องของวัสดุ การใช้งาน และข้อมูลต่างๆ ที่ ลูกค้าต้องการเพิ่ม ที่สำคัญ นโยบายรับคืนสินค้า หลายเว็บไซต์มักเกรงปัญหาของคืน จึงไม่ได้ใส่เงื่อนไขสำคัญนี้ในเว็บของตน หรือบางเว็บไซต์ก็ใส่ข้อมูลที่เยอะมากเกินไป กว่าลูกค้าจะคลิกเข้าไปซื้อของได้ก็เสียเวลาเปิดเข้าไปในแต่ละหน้านานมาก
                2. ขาดบุคคลากรที่มีความรู้ การนำเสนอข้อมูลที่ขาดรายละเอียดนั้น บางครั้งมีลูกค้าอีเมล์มาสอบถามเพิ่มเติม แต่บางเว็บไซต์ไม่ได้ตั้งบุคคลากรเพื่อดูแลปัญหานี้ หรือขาดความรู้ในการเข้าถึงเทคโนโลยีมีผู้ประกอบการหลายราย เปิดเว็บไซต์แล้ว ไม่ได้ตรวจอีเมล์ หรือตอบช้าเกินไป ซึ่งทำให้ลูกค้าไม่ประทับใจและเกิดความเบื่อหน่าย หันไปสนใจเว็บไซต์อื่นๆ
                3. ขาดการวางแผนตลาดรองรับ การมีเว็บไซต์เป็นเสมือนการเปิดร้านแห่งหนึ่งขึ้นบนโลกไซเบอร์ ซึ่งวันหนึ่งๆ มีเว็บเกิดขึ้นเป็นหมื่น หากไม่มีการวางแผนประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายรู้จัก ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ หลายเว็บเกิดขึ้นมาแบบขาดการวางแผน เห็นธุรกิจอื่นมีเว็บกัน ก็แค่อยากมีเว็บไซต์เหมือนกับเขาบ้าง
                4. ขาดการส่งเสริมอย่างจริงจัง มีหลายเว็บไซต์ที่เปิดขึ้นมาแล้ว ขาดการดูแล ผู้ซื้อเข้ามากี่เดือนก็พบรูปแบบเหมือนเดิม ซ้ำโปรโมชั่นเก่าที่เอามาลดราคาก็หมดเขตไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้เว็บไซต์ขาดความน่าเชื่อถือ ดังนั้น เมื่อเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาแล้ว เราต้องติดตาม ตรวจสอบสถิติ และพัฒนาเว็บไซต์ของตนให้ทันสมัยอยู่เสมอ
                5. หลงเทคโนโลยี การสร้างเว็บไซต์ บางครั้งผู้ประกอบการมักหลงใหลกับความงามของกราฟฟิกส์ ใส่ภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบต่างๆ เข้าไป เพื่อหวังจะเรียกร้องความสนใจของผู้เข้าชม โดยลืมไปว่าสิ่งเหล่านี้ต้องทำให้ผู้ซื้อสินค้าเสียเวลาโหลดนานมากกว่าที่จะ ได้ดูสินค้าแต่ละหน้า
                6. ไม่กำหนดตลาด การที่อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงคนได้ทั่วโลก ทำให้ผู้ค้าบางรายหวังขายสินค้าไปทั่วโลก ทั้งที่ในโลกการค้า ลักษณะการใช้ภาษาก็ดี, รูปแบบ, ราคาของสินค้าก็ดี ล้วนมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้น เมื่อได้ข้อมูลความต้องการของลูกค้าที่ชัดเจนแล้ว ควรมุ่งเน้นไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย ดีกว่าการทำตลาดแบบเหวี่ยงแห ซึ่งนอกจากเสียเวลาแล้ว ยังอาจเสียลูกค้าโดยไม่รู้ตัว เช่น หากจะขายเครื่องประดับราคาสูงแล้ว ก็ต้องไม่มีการขายตุ้มหู คู่ละ เหรียญอยู่ในเว็บ เป็นต้น
                7. การออกแบบ การออกแบบเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ควรออกแบบให้ผู้ใช้ เข้าใจได้ง่าย โดยไม่ต้องมีคู่มือประกอบ สามารถค้นหาสินค้าได้สะดวก และชำระเงินได้โดยง่าย บางเว็บไซต์ ผู้ซื้อต้องกรอกข้อมูลมากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย และรู้สึกว่าใช้งานลำบาก



2. ปัจจัยที่ทำให้ให้ระบบการขายสินค้าในรูปแบบ E-commerce ในประเทศไทยประสบความสำเร็จ    
             เมื่อพิจารณาในด้านของการออกแบบเว็บไซต์, การวางระบบงานด้านการตลาดและ back office นั้น จะกล่าวได้ว่าเข้าถึงความรู้สึกและความกังวลของลูกค้าที่จะเข้ามาสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้เป็นอย่างดี จนกลุ่มเป้าหมายแทบจะหาเหตุผลในการไม่ทดลองสั่งซื้อไม่ได้เลย ในเว็บไซต์ได้ตอบสนองต่อความกังวลของลูกค้าทุกอย่าง และสร้างระบบที่ตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างดีเยี่ยมดังนี้
                   1. นโยบายการคืนสินค้า (Return Policy) ถึงแม้ว่าจะมีรายละเอียดของสินค้าปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ก็ตามแต่สินค้าจำพวกอัญมณีเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณา และจับต้อง ยินยอมให้ลูกค้าคืนสินค้าอย่างไม่มีเงื่อนไขได้ภายใน 30 วัน
              2. การรับประกันสินค้า (Gemological Authenticity Certificate) เพื่อให้ความมั่นใจในตัวสินค้า จึงต้องมีการออกใบรับรองสำหรับสินค้าที่ซื้อบนเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อสิทธิประโยชน์ และความพึงพอใจของลูกค้า 
              3. เปิดโอกาสให้ลูกค้ากำหนดราคาซื้อที่พอใจ (Make an Offer) ความจริงแล้วนี่คือรูปแบบของ Auction นั่นเอง การเปิดโอกาสให้ลูกค้าค้นหารายการสินค้าและกำหนดราคาซื้อเป็นนโยบายการตลาดที่ยอดเยี่ยม ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นกันเอง คล้ายกับการซื้อขายปกติที่มีการ 
             
             4. การจัดส่ง (Delivery) เพื่อเพิ่มความมั่นใจ ควรเลือกใช้บริการของ Fedex ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในมาตรฐานการให้บริการในระดับโลก และเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถติดตามสถานะของรายการสินค้าที่สั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์อีกด้วย
              
              5. นโยบายการชำระเงิน (Payment System) เพื่อความสะดวกแก่ลูกค้า จึงต้องกำหนดให้สามารถเลือกใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตที่มีระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานสูง (SSL - Secure Socket Layer) หรือผ่านตัวกลางที่เป็น Third Party อาทิเช่น Escrow.com หรือ PayPal เป็นต้น
               
              6. นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy) มีการระบุชัดในเรื่องของมาตรฐานของความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้าเช่นเดียวกับเว็บไซต์มาตรฐานทั่วไป จะเห็นได้ว่าความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจผ่านอีคอมเมิร์ซนั้นมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาได้ง่าย หากแต่มาจากการริเริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป และการเข้าใจถึงพฤติกรรมของลูกค้าอย่างแท้จริง ทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในเรื่องของระบบการสั่งซื้อ การรักษาความปลอดภัย คุณภาพและการรับประกันในตัวของสินค้าและระบบการชำระเงินที่เชื่อถือได้ 

12 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหามีสาระครบถ้วนดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. เนื้อหาสาระ ชัดเจนดีค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่าย

    ตอบลบ
  3. เนื้อหาชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจดีค่ะ

    ตอบลบ
  4. เนื้อหาดีมากค่ะ เข้าใจง่าย สามารถที่จะนำไปเป็นแนวทางในการทำธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง
    แม้ปัจจุบันภาพรวมของการสื่อสารผ่านเครือข่ายออนไลน์จะได้รับความนิยมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ในทางตรงกันข้ามกลับปรากฎว่า ยอดการทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ดังกล่าว กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
    อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงลักษณะทั่วไปของธุรกิจ ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีสัดส่วนของธุรกิจขนาดเล็ก(มีคนทำงานไม่เกิน 5 คน) มากที่สุด คือ ร้อยละ 68.5 และเป็นการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาคธุรกิจกับผู้บริโภค(B2C) ร้อยละ 73.3

    ตอบลบ
  5. ครอบคลุมดีครับ แต่อยากให้ยกตัวอย่างมาสักธุรกิจหนึ่งอะครับ เพื่อเป็นแนวทาง

    ตอบลบ
  6. พื้นหลังสบายตาดี เห็นแล้วอยากอ่าน รายละเอียดของเนื้อหาครอบคลุมดีค่ะ

    ตอบลบ
  7. อ่านง่าย เนื้อหาสาระดีครับ ครอบคลุมและชี้ชัดถึงเนื้อหาสำคัญดีนะครับ
    ส่วนมุมมองของผมนั้นอาจมีส่วนปัจจัยต่างๆ เข้ามาเพิ่มอีก ซึ่งก็คือเรื่องลักษณะนิสัยของคนไทยเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดจนภูมิสภาพทางการตลาดของผู้บริโภคซึ่งแตกต่างจากประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าด้าน E-commerce เป็นอย่างมาก รวมถึงด้านทัศนคติต่างๆของคนไทยที่ยังเข้าระบบที่ยังไม่ทั่วถึง อีกทั้งยังด้านไม่ไว้วางใจในด้านธุรกิจประเภทนี้ด้วยนะครับและอีกประเด็นคือสภาพเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของคนไทยนั้นคือ ความยากจนที่เป็นปัญหาใหญ่ครับ

    ส่วนการที่จะพัฒนาE commerceในไทยได้ผล ผมคิดว่านอกจากปัจจัยที่กล่าวมานั้น น่าจะมีการสร้างพันธมิตรทางการค้าเข้ามามีส่วนช่วยเหลือระหว่างกันด้วยนะครับ อีกทั้งการให้ัฐบาลมามีส่วนช่วยอีกด้วยนะครับ

    ซึ่งจากข้อมูลในบทความนี้ส่วนใหญ่สามารถทำให้มองเห็นถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจ E-commerce ได้เป็นส่วนหนึ่งครับ ขอบคุณครับ

    ฝากลิ้งค์ ครับ http://ebusinesskorawit.blogspot.com/

    ตอบลบ
  8. เนื้อหาอ่านเข้าใจ เข้าใจง่ายดีค่ะ

    ตอบลบ
  9. เนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ดี การตกแต่งดูน่าสนใจ อ่านง่าย

    ตอบลบ
  10. เนื้อหาอ่านง่าย ทำความเข้าใจดีค่ะ

    ตอบลบ
  11. ดีมากค่ะอ่านเข้าใจดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  12. เนื้อหาสาระ ชัดเจนดีคับ เข้าใจ

    ตอบลบ